แน่นอนว่าการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมาก หากยังจำกันได้จาก Porter's 5 Forces สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมและการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) แต่หากเราใช้เวลาส่วนใหญ่ในการติดตามสภาวะภายนอก อาจทำให้ลดทอนจุดโฟกัสการบริหารจัดการธุรกิจภายใน เคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) นี้ ครอบคลุมกลยุทธ์การจัดการ (Strategic Management) ด้านการจัดการแผนธุรกิจ (Business Plan) แบบกลยุทธ์ตอบโต้ (Counter Strategy) เสริมความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจคุณ
ทำไมการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันจึงสำคัญและเป็นสิ่งที่คุณควรติดตามเป็นประจำ?
ทุกกิจกรรมของคู่แข่งของคุณหรือการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ ย่อมหมายถึง ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share)ในสินค้าและบริการ และความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจคุณที่อาจลดลง เนื่องจากความน่าสนใจที่ลดลงจากโปรโมชั่น สินค้าและบริการใหม่ หรือการปรับราคาลดลง เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านเทคโนโลยี กฏระเบียบ รวมทั้งการควบรวมกิจการในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่คุณต้องให้ความสำคัญและติดตามสม่ำเสมอ และหากลยุทธ์ตอบโต้ (Counter Strategy) ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วทันเหตุการณ์
ในบทความนี้ เราแนะนำลักษณะเหตุการณ์ที่สำคัญ 8 รูปแบบ เพื่อเป็นเคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) ที่คุณควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมด้านกลยุทธ์ในการแข่งขัน ได้แก่
1. การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ (Product Launches)
โดยทั่วไปการเปิดตัวผลิตภัณฑ์มีเป้าหมายเพื่อสร้างความตื่นเต้นและความตระหนักในผลิตภัณฑ์ (Excitement & Awareness) และแน่นอนว่าต้องใช้ความพยายามร่วมกันอย่างมากของทีมงานเพื่อนําผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันใหม่นั้นออกสู่ตลาดให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสําเร็จไม่เพียงแต่นําไปสู่ความสนใจที่มากขึ้นและรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ใหม่เท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มความสนใจและรายได้ต่อผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยได้หากรวมอยู่ในแพ็คเกจการเปิดตัว (Launch Package) จึงเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญลำดับแรกในเคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) ที่คุณควรติดตามอย่างใกล้ชิด
เราแนะนำให้คุณวางแผนกลยุทธ์โดยเริ่มจากการประเมินความเป็นไปได้ของความสำเร็จในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของคู่แข่ง และเชื่อมโยงว่าผลิตภัณฑ์ใดของคุณที่อาจจะได้รับผลกระทบ แล้ววางแผนเพื่อดำเนินการกลยุทธ์ตอบโต้ (Counter Strategy) เพื่อเบี่ยงเบนความน่าจะเป็นนั้น
2. การเปลี่ยนแปลงราคา (Pricing Changes)
แม้ว่าการทำการตลาดโดยมากจะมีลักษณะไดนามิกตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป (Changing Customer Needs) แต่พบว่าหลายกิจการมักจะยึดติดกับกลยุทธ์การกำหนดราคาแบบเดียวกันต่อเนื่องหลายปี จนกระทั่งมีคู่แข่งในตลาดซึ่งอาจเป็นรายใหญ่หรือรายใหม่ในตลาดเปลี่ยนแปลงราคา และทำให้ต้องตัดสินใจเปลี่ยนแปลงราคาในทิศทางเดียวกันเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน
การเปลี่ยนแปลงราคา เป็นเหตุการณ์สำคัญในเคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) ที่คุณควรติดตาม เพราะลูกค้ามักจะมีความยืดหยุ่นของราคา (Price Elastricity) ต่อผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่กำลังซื้อในตลาดค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน และนั่นทำให้คุณจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและมีกลยุทธ์ตอบโต้ (Counter Strategy) ได้อย่างเหมาะสมและทันเวลาเพื่อรักษาระดับรายได้ของคุณในระยะสั้น
การค้นหารูปแบบการกําหนดราคาที่เหมาะสม (Pricing Model) เป็นสิ่งสําคัญต่อความสําเร็จในระยะยาวของธุรกิจคุณ เราแนะนำให้คุณเก็บสถิติความสัมพันธ์ของรายได้จากการขายและการเปลี่ยนแปลงราคาของแต่ละผลิตภัณฑ์ และออกแบบกลยุทธ์ราคาที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง (Dynamic Pricing) โดยคำนึงเสมอว่า "ราคาคือสิ่งที่ลูกค้าจ่าย คุณค่าคือสิ่งที่ลูกค้าได้รับ" ในการสร้างกลยุทธ์ของคุณ
3. แคมเปญการตลาด (Marketing Campaigns)
ธุรกิจโดยทั่วไปวางแผนแคมเปญการตลาดและและกิจกรรมต่างๆ (Marketing Campaigns) ให้มีความหลากหลาย เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์ บริการ หรือแบรนด์ ให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แคมเปญที่ได้รับการวางแผนอย่างรอบคอบมักใช้ช่องทาง แพลตฟอร์ม และสื่อต่างๆ ที่หลากหลายตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลกระทบสูงสุด
หลายธุรกิจดำเนินการแคมเปญการตลาดเชิงรุก (Proactive Marketing Campaign)ในตลาดเฉพาะกลุ่ม เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ถึงธุรกิจในแง่บวกหรือเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์ให้ประสบความสําเร็จ และหากคุณอยู่ในธุรกิจลักษณะนี้ คุณจำเป็นต้องติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดในเคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring)
และการที่คุณจะสามารถออกแคมเปญในกลยุทธ์ตอบโต้ (Counter Strategy) ได้อย่างมีประสิทธิผล นักการตลาดของคุณจําเป็นต้องสร้างและดําเนินการตามแผนแคมเปญที่ได้รับการวิจัยอย่างดีอย่างต่อเนื่องล่วงหน้าเสมอ เพื่อให้สามารถมีความเข้าใจและออกแบบได้อย่างรวดเร็ว
สิ่งที่สำคัญที่คุณต้องคำนึงถึงเสมอคือ แต่ละแคมเปญการตลาด (Marketing Campaigns) จําเป็นต้องมีเป้าหมายหลักประการหนึ่ง (Single Clear Goal) เป็นเหตุผลในการออกแคมเปญนั้นๆ เพื่อที่จะประสบความสําเร็จตามเป้าหมายดำเนินการ
4. การเข้าสู่ตลาดใหม่ (Entry into New Markets)
การขยายแบรนด์ไปสู่ตลาดใหม่ช่วยให้เข้าถึงลูกค้าใหม่จํานวนมากและเพิ่มรายได้อย่างมหาศาล นั่นทำให้หลายธุรกิจต่างเสาะแสวงหาตลาดใหม่เสมอ และเมื่อคู่แข่งของคุณกำลังเข้าสู่ตลาดใหม่ นั่นมีความหมายอย่างมากต่อธุรกิจของคุณ อาจหมายถึงโอกาสทางธุรกิจที่รออยู่หากคุณตามเข้าไปสู่ตลาดใหม่นั้น หรือขนาดกิจการของคุณที่อาจดูเล็กลงโดยเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หากคุณไม่พร้อมและเลือกที่จะไม่เสี่ยงเข้าไปในตลาดใหม่นั้น
เหตุการณ์นี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่คุณต้องติดตามในเคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) แม้ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่มีความถี่ในการเกิดขึ้นน้อยกว่าเหตุการณ์อื่นๆ ในลำดับก่อนหน้านี้ แต่สามารถส่งผลกระทบมากหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น และคุณจำเป็นต้องออกแบบกลยุทธ์การตอบโต้ (Counter Strategy) ที่ซับซ้อนมากขึ้น
เราแนะนำให้คุณสร้างความพร้อมอยู่เสมอ โดยมีการศึกษาเตรียมความพร้อมของธุรกิจในการเข้าสู่ตลาด (Market Entry Research) ซึ่งจะเป็นการสะสมประสบการณ์เป็นเส้นทางสู่การทําความเข้าใจตลาดใหม่ ช่วยให้แบรนด์ระบุปัจจัยความสําเร็จต่างๆ ความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น และค้นพบโอกาสที่ซ่อนอยู่ได้ล่วงหน้า และสามารถประเมินความพร้อมและศักยภาพของคุณได้เสมอและมีประสิทธิผล
5. การควบรวมและซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions)
โดยทั่วไปการควบรวมและซื้อกิจการ (เรียกรวมกันว่า M&A) เป็นธุรกรรมที่นําสองธุรกิจมารวมกัน ในการเข้าซื้อกิจการ คือ บริษัทหนึ่งซื้อและรวมอีกบริษัทหนึ่งเข้าสู่การดําเนินงาน
การควบรวมกิจการ (Mergers) มักจะเป็นการรวมกันของธุรกิจสองธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งใกล้เคียงกัน ในขณะที่การเข้าซื้อกิจการ (Acquisitions) คือการซื้อบริษัทหนึ่งโดยอีกบริษัทหนึ่ง มักจะเป็นธุรกิจที่ใหญ่กว่าและซื้อบริษัทที่เล็กกว่า
กลยุทธ์เบื้องหลังการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) อาจแบ่งออกเป็น 3 เป้าหมายหลักในเชิงกว้าง คือ
การควบรวมและซื้อกิจการแนวนอนซึ่งนําคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันมารวมกัน (Horizontal: competitors)
การควบรวมและซื้อกิจการแนวตั้งซึ่งขยายห่วงโซ่อุปทาน (Vertical: supply chains)
การควบรวมและซื้อกิจการธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรงในลักษณะบริษัทโฮลดิ้ง (Conglomerates: unrelated businesses)
เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่คุณต้องติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งของคุณในเหตุการณ์ลักษณะนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในเคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) ผลกระทบของเหตุการณ์มีความเป็นไปได้ทำให้สถานะและความสามารถในการแข่งขันของคุณเปลี่ยนไป
โดยหากเป็นการควบรวมหรือซื้อกิจการในอุตสาหกรรมเดียวกัน นั่นหมายถึงขนาดกิจการ ส่วนแบ่งทางการตลาด และอำนาจต่อรองที่มากขึ้นของคู่แข่งของคุณ ในขณะที่การควบรวมและซื้อกิจการแนวตั้งมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันของคู่แข่งของคุณอย่างก้าวกระโดด
6. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technology Advancements)
เป็นที่ชัดเจนว่าเทคโนโลยีมีความซับซ้อนมากขึ้นและเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น เราเห็นทิศทางการประมวลผลข้อมูลของรัฐบาลและองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลกอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technologies) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ที่เข้มข้นมากขึ้น ความก้าวหน้าทางวิศวกรรมชีวภาพ (Bioengineering) กําลังเปิดภูมิทัศน์ใหม่สําหรับความท้าทายทางปรัชญา การเมือง และเศรษฐกิจ รวมทั้ง การจัดการอุปกรณ์และระบบทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กซึ่งทําได้มากขึ้นผ่านระบบคลาวด์ (Cloud)
ความก้าวหน้าทางเทคโนโนยีที่กล่าวมานี้ ล้วนส่งผลให้ความเชื่อมโยงในการพัฒนาและใช้งานมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับบุคคลน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งความเข้าใจที่ยากขึ้นและในหลายกรณีก็ควบคุมยากขึ้น
เคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) จึงรวมเหตุการณ์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technology Advancements) เป็นส่ิงที่คุณต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และศึกษาเตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจและเครือข่ายการเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้ธุรกิจของคุณรักษาศักยภาพการแข่งขันได้ในระยะยาว
7. ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partnerships)
เมื่อพูดถึงการดําเนินธุรกิจ ความสัมพันธ์ที่คุณทํากับบริษัทอื่น อาจสามารถช่วยให้ธุรกิจคุณประสบความสําเร็จมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partnerships) เป็นความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เป็นประโยชน์ร่วมกันซึ่งสามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตด้วยต้นทุนที่ลดลง
ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partnerships) คือความร่วมมือทางธุรกิจ (Business Partnerships) ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เพื่อช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องประสบความสําเร็จ พันธมิตรเชิงกลยุทธ์มักเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่คู่แข่งที่แข่งขันกันโดยตรง (Non-competing Businesses) และมักจะแบ่งปันทั้งความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการตัดสินใจร่วมกันในเรื่องที่มีความร่วมมือกันของเครือข่ายพันธมิตร
โดยทั่วไป ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partnerships) เปิดโอกาสให้แต่ละบริษัทที่เกี่ยวข้องลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย และขยายธุรกิจ พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่ดีมักจะเป็นบริษัทที่ให้บริการที่คุณสามารถใช้ภายในบริษัทของคุณเองหรือที่คุณสามารถเสนอให้กับลูกค้าของคุณในขณะเดียวกัน บริษัทของคุณก็สามารถนําเสนอบริการของคุณเองให้กับลูกค้าของพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ความร่วมมือเหล่านี้สามารถขยายฐานลูกค้าของคุณ (Customer base) การรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand awareness) การเข้าถึงโดยรวม (Reach) และความพร้อมในการให้บริการ (Services)
เหตุการณ์นี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่คุณต้องติดตามคู่แข่งอย่างสม่ำเสมอ ในเคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) เพราะหากคู่แข่งของคุณทำสำเร็จก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะมีความความสามารถในการแข่งขันเหนือกว่าธุรกิจคุณอย่างมากจนคุณอาจไม่สามารถพัฒนาได้ทัน เพราะการพัฒนาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partnerships) ใช้เวลาและมีรายละเอียดซับซ้อน
8. การเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบ (Regulatory Changes)
เคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) ข้อสุดท้ายนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบ (Regulatory Changes) ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงอยู่ของธุรกิจคุณ และเราแนะนำให้คุณติดตามสถานการณ์และแนวโน้มความเคลื่อนไหวทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นที่ธุรกิจของคุณดำเนินกิจการอยู่
โดยทั่วไป การจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ (Regulatory Changes Management) เป็นกระบวนการในการติดตามและดําเนินการตามนโยบาย มาตรฐาน และการควบคุมใหม่ที่สอดคล้องกับข้อกําหนดด้านกฎระเบียบใหม่ ซึ่งเป็นส่วนสําคัญของทุกประเภทธุรกิจ มากน้อยแตกต่างไปตามระดับการควบคุมดูแลด้านกฏระเบียบในแต่ละธุรกิจ และในความเป็นจริงเราพบว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบได้อย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ
หลายท่านอาจมองว่า เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบ (Regulatory Changes) เกิดขึ้นไม่บ่อยในธุรกิจของคุณ และมักมีการประกาศแจ้งล่วงหน้าก่อนการบังคับใช้เป็นเวลาหลายปี ซึ่งคุณน่าจะมีเวลามากพอในการปรับตัวและไม่เกิดผลกระทบทางลบต่อกิจการ ซึ่งหลายครั้งเราพบว่าหลายธุรกิจต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร (เงิน คน เวลา) เพื่อปรับธุรกิจให้สอดคล้องกับกฏระเบียบใหม่ (New Regulatory) และหลายครั้งที่เราพบว่าธุรกิจไม่สามารถทำได้เป็นผลสำเร็จได้ทัน
ที่ปรึกษาทรัพย์ทวีจะเป็นผู้ช่วยเพื่อการเติบโตของคุณในการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ผ่าน เคล็ดลับการวิเคราะห์คู่แข่งและการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Activity Monitoring) ได้อย่างไร?
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพิจารณาว่าการพูดคุยในเชิงลึกกับเราเป็นสิ่งจำเป็น เราพร้อมและยินดีเสมอในการร่วมคิดร่วมทำกับคุณในรูปแบบการให้บริการที่คุณเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็น
การออกแบบเส้นทางความสำเร็จของคุณ หรือ โมเดลธุรกิจ (Business Model)
การออกแบบแผนธุรกิจที่ติดตามและวัดผลความสำเร็จได้ (Business Plan)
การตรวจสุขภาพธุรกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อระบุสิ่งที่ต้องดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแรงให้พร้อมกับโอกาสและความท้าทายใหม่ (Business Health Check and Action Plans)
การร่วมนำแผนงานไปปฏิบัติและติดตามความสำเร็จกับทีมงานของคุณ (Business Development Execution) ในหลายรูปแบบ เช่น การจัดการโครงการ (Project Management) การประชุมเชิงปฏิบัติการกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy Workshop) และการฝึกอบรมพนักงาน (Training and Cascading Program)
เพื่อให้คุณสามารถติดตามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเราได้ต่อเนื่อง เราแนะนำให้คุณใส่ Email ของคุณเพื่อรับเทคนิคสร้างความสำเร็จได้เป็นประจำที่ https://www.supthavee.com/blog
ยินดีต้อนรับสู่ "Supthavee Blog" พื้นที่เผยแพร่และแบ่งปันบทความและเรื่องราวต่างๆ ด้านการจัดการธุรกิจ เทคนิคที่คุณต้องรู้ กลยุทธ์การตลาด และกลยุทธ์การจัดการ ผ่านการเล่าแนวคิดที่ผสมผสานกับกรณีศึกษาเพื่อให้ติดตามและเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น ที่คุณจะสามารถเพลิดเพลินในการติดตามอ่านได้เป็นประจำค่ะ
เทียนทิพย์ นาราช
ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ
บริษัท ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี จำกัด
Supthavee Advisory Company Limited
เราคือ ที่ปรึกษาธุรกิจการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตและสร้างผลกำไรจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน
ติดต่อเราได้ที่
Phone: 080-823-2877
Reference: LinkedIn Forum
コメント