คุณเคยได้ยินเรื่อง "เหตุผล 5 ข้อ (หรือ 5 เหตุผล)” ที่อธิบายโดย Taiichi Ohno จาก Toyota Motor Corporation ไหม? แน่นอนว่าเป็นเทคนิคการถามคำถามเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญอย่างมากในการจัดการเชิงกลยุทธ์และการทำแผนธุรกิจเพื่อการเติบโตและการสร้างผลกำไร ยิ่งคุณค้นพบสาเหตุของปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ คุณจะยิ่งจัดการแก้ปัญหาธุรกิจได้เร็วและได้ผลมากขึ้น
“Ask ‘why’ five times about every matter."
“Ask ‘why’ five times about every matter."
เป็นเทคนิคสำรวจความสัมพันธ์ของเหตุและผลซึ่งเป็นรากฐานของปัญหา
เพราะปัญหาที่แท้จริงอาจไม่ใช่สิ่งที่คุณมองเห็น หากยอดขายและกำไรลดลง สิ่งที่คุณทำคืออะไร เคยไหมที่การทำโปรโมชั่นก็ช่วยแก้ปัญหาได้สั้นๆ และทำให้คุณเหนื่อยมากขึ้นในแต่ละวัน และนั่นคือความสำคัญของการตรวจสุขภาพธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ที่จะทำให้คุณมองเห็นสาเหตุที่ทำให้ยอดขายและกำไรลดลง และบริหารจัดการธุรกิจของตนเองได้
หลายคนถามว่าเทคนิคการถามคำถามนี้จะเริ่มจากคำถามอะไร และจะตั้งคำถามอย่างไร 5 คำถามในเรื่องเดียวกัน จริงๆ แล้วแม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มิติความลึกและความกว้างของเรื่องนั้นมีหลายมิติให้ค้นหา ยิ่งเราสามารถค้นหาได้มากกว่าที่ได้ยินหรือมองเห็นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะสามารถจัดการกับปัญหานั้นๆ ได้ตรงจุด ใช้ทรัพยากรน้อยลงทั้งเงิน คน และเวลา จึงเป็นเทคนิคการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลมาก
และแน่นอนว่า กลไกหลักของความสำเร็จในกลยุทธ์นี้คือ เทคนิคการถามคำถาม วันนี้เรานำ Tips ในการตั้งคำถามมาให้ลองพิจารณากันค่ะ ยิ่งเราฝึกทักษะการมองเห็นและการฟังที่ดี ต่อยอดด้วยทักษะการตั้งคำถามและการจัดการ คุณจะยิ่งมีทรัพยากรทั้งเงิน คน และเวลา เหลือมากสำหรับการต่อยอดธุรกิจเพื่อการเติบโตและสร้างผลกำไร และคลายความกังวลในการแก้ปัญหาซ้ำๆ ที่บางครั้งได้ผลบ้างและหลายครั้งก็ไม่ได้ผลบ้าง เริ่มกันเลยค่ะ
Tip #1 - เทคนิคการถามคำถามซ้ำในเรื่องที่คุณต้องรู้ 5 ครั้งเสมอ เป็นจุดเริ่มต้นของเทคนิคการแก้ปัญหาที่ทรงพลัง
เป้าหมายหลักของเทคนิคนี้คือ การระบุถึงสาเหตุของปัญหาโดยการถามคำถาม "ทำไม” ซ้ำ 5 ครั้ง จนสามารถเข้าถึงสาเหตุของปัญหาอย่างลึกซึ้งได้
และนั่นจะทำให้เราเหนี่อยน้อยลงในการแก้ปัญหา เพราะเราเข้าถึงและเข้าใจสาเหตุที่เรามองไม่เห็นตั้งแต่แรกซึ่งอาจเป็นคนละมิติการดำเนินงานกับจุดที่เราพบปัญหา อย่าลืมว่ามันไม่ใช่การถามประโยคเดิมในคำตอบเดิม
ตัวอย่างเทคนิคการถามคำถามเช่น คุณขายอาหารและพบว่าอาหารไม่ร้อน คุณจึงถามพนักงานว่า
ทำไมอาหารไม่ร้อน? และได้รับคำตอบว่า ทำไว้นานแล้ว คุณจึงถามต่อ
ทำไมทำนานแล้ว? และได้รับคำตอบว่า ทำไว้ก่อนจะได้เสริฟลูกค้าได้เร็ว คุณจึงถามต่อ
ทำไมต้องเสริฟให้เร็ว? และได้รับคำตอบว่า ลูกค้ามักจะยกเลิกคำสั่งอาหารที่ต้องรอนาน คุณจึงถามต่อว่า
ทำไมทำให้เร็วเมื่อลูกค้าสั่งแล้วไม่ได้? และได้รับคำตอบว่า เตรียมวัตถุดิบให้พร้อมทำอาหารไม่ทัน คุณจึงถามต่อว่า
ทำไมจึงเตรียมวัตถุดิบไม่ทัน? และได้รับคำตอบว่า วัตถุดิบมีหลากหลายมากตามเมนูที่มีมากมาย
จากเทคนิคการถามคำถามนี้ คุณจะยังคงถามคำถามซ้ำต่อไปอีกได้ แต่ ณ จุดนี้คุณสังเกตุอะไรไหม?
สาเหตุของปัญหาไม่ได้อยู่ที่พนักงานครัวทำงานช้า หรือบริหารงานผิดพลาดในวันนั้น แต่เป็นเพราะเมนูอาหารของคุณที่มีมากมายหลากหลายวัตถุดิบที่ต้องเตรียมมากเกินไป
Tip #2 - เทคนิคการแก้ปัญหาเริ่มจากการหาทางเลือกเพื่อเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจดำเนินการ
ยิ่งเราค้นพบปัญหาและสาเหตุของปัญหาเร็วเท่าไหร่ นั่นจะทำให้เราเข้าถึงปัญหาเพื่อบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็วตรงจุด และใช้ทรัพยากรน้อยลงกว่าการลองผิดลองถูกหลายๆ ครั้ง
เวลาที่เราพูดถึงทรัพยากรหมายถึงอะไรบ้าง? ทรัพยากรคือส่ิงที่เราต้องใช้ในการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเงินหรืองบประมาณที่คุณมี คนที่คุณมีในการทำงานในแต่ละขณะเวลา และแน่นอนที่สุดคือ เวลาที่คุณมีในการแก้ไขปัญหาก่อนที่ปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น
จากสาเหตุของปัญหาที่ค้นพบจากการถามคำถามซ้ำ 5 ครั้ง ที่มาจากเมนูอาหารของคุณที่มีมากมายหลากหลายวัตถุดิบที่ต้องเตรียมมากเกินไป
ตัวอย่างทางเลือกในการแก้ปัญหาของคุณอาจมีอะไรได้บ้าง?
ปรับเมนูให้ลดจำนวนวัตถุดิบที่หลากหลายให้น้อยลงในระดับที่บริหารจัดการได้ด้วยพนักงานที่มี โดยเลือกปรับเมนูที่ลูกค้าไม่นิยมทานมากนักเพื่อให้ไม่กระทบยอดขายและแบรนด์
ไม่ปรับเมนู แต่จ้างพนักงานทำหน้าที่จัดเตรียมวัตถุดิบเพิ่มขึ้น โดยอาจจ้างเป็นพนักงานชั่วคราวเพื่อจัดเตรียมวัตถุดิบให้พร้อมทำอาหารเท่านั้น
ไม่ปรับเมนูและไม่จ้างพนักงานเพิ่ม แต่คัดเลือกและเจรจากับซัพพลายเออร์ให้จัดส่งวัตถุดิบที่จัดเตรียมพร้อมให้ทำอาหารได้มาเลย เพราะประเมินว่าคุ้มค่ากว่าการลดเมนูซึ่งจะกระทบความพอใจของลูกค้า และต้นทุนที่เพิ่มน้อยกว่าการจ้างพนักงานเพิ่ม
จัดสรรบางเมนูเป็น rotating menu หรือ seasonal menu ที่มีการคัดสรรวัตถุดิบกลุ่มประเภทเดียวกันในการทำอาหารได้หลายเมนู ในขณะที่เมนูประจำของร้านมีการจำกัดประเภทกลุ่มวัตถุดิบลงให้สามารถจัดเตรียมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และแน่นอนว่าทางเลือกในการแก้ปัญหาสำหรับแต่ละธุรกิจย่อมแตกต่างกัน แม้จะอยู่ในธุรกิจร้านอาหารเช่นกันก็มีทางเลือกที่แตกต่าง ทั้งจากคุณค่าที่นำเสนอ (value proposition) กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (target customers) และข้อจำกัดด้านทรัพยากร คือเงิน คน และเวลา เป็นต้น แต่ละธุรกิจจะต้องเข้าใจธุรกิจของตน ทั้งสภาวะการแข่งขัน ปัจจัยภายนอกด้านโอกาสและภัยคุกคามจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของลูกค้า และปัจจัยภายในคือจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณนั่นเอง และที่สำคัญที่สุดคือ รายละเอียดยุทธวิธี (tacticial actions) ในการดำเนินการ
"Ask ‘why’ five times about every matter." – Taiichi Ohno จาก Toyota Motor Corporation
Tip #3 - อย่าลืมคุณค่าข้อเสนอ (value proposition) ที่คุณมีต่อลูกค้าในการเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาเสมอ
แน่นอนว่าคุณมีทางเลือกมากมายในการแก้ปัญหา และทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำที่สุดอาจดูน่าดึงดูดมากที่สุดสำหรับคุณ แต่อยากให้คุณอย่าลืมคุณค่าข้อเสนอ (value proposition) ที่คุณมีต่อลูกค้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่มีในการแก้ปัญหาเสมอ เพราะทางเลือกที่กระทบอย่างมากต่อคุณค่าข้อเสนอ (value proposition) ที่คุณมีต่อลูกค้า จะส่งผลกระทบอย่างมากในระยะยาวต่อความยั่งยืนของธุรกิจคุณ
เพราะคำถามที่สำคัญในการเริ่มกิจการคือ คุณทำกิจการนี้เพราะอะไร เพื่ออะไร เพื่อใคร และใครคนนั้นจะได้รับประโยชน์อะไรจากคุณ?
และนั่นคือการสร้างคุณค่า และส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าเป้าหมายของคุณ ถ้าคุณทำได้ชัดเจนและต่อเนื่อง บวกกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดี ธุรกิจคุณย่อมมีแต้มต่ออย่างมากในใจลูกค้าของคุณ และนั่นคือความยั่งยืนของธุรกิจ
"เหตุผล 5 ข้อ (หรือ 5 เหตุผล)” เป็นเทคนิคการถามคำถามและเทคนิคการแก้ปัญหาที่สำคัญอย่างมากในการจัดการเชิงกลยุทธ์และการทำแผนธุรกิจเพื่อการเติบโตและการสร้างผลกำไร และนั่นคือแนวทางของเรา ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี ในการให้คำปรึกษาการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ที่อยู่บนพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของธุรกิจคุณ คือ การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เสริมสร้างคุณค่าข้อเสนอ (value proposition) ที่คุณมีให้กับลูกค้า
ที่ปรึกษาทรัพย์ทวีจะเป็นผู้ช่วยเพื่อการเติบโตของคุณในการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างไร?
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพิจารณาว่าการพูดคุยในเชิงลึกกับเราเป็นสิ่งจำเป็น เราพร้อมและยินดีเสมอในการร่วมคิดร่วมทำกับคุณในรูปแบบการให้บริการที่คุณเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็น
การออกแบบเส้นทางความสำเร็จของคุณ หรือ โมเดลธุรกิจ (Business Model)
การออกแบบแผนธุรกิจที่ติดตามและวัดผลความสำเร็จได้ (Business Plan)
การตรวจสุขภาพธุรกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อระบุสิ่งที่ต้องดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแรงให้พร้อมกับโอกาสและความท้าทายใหม่ (Business Health Check and Action Plans)
การร่วมนำแผนงานไปปฏิบัติและติดตามความสำเร็จกับทีมงานของคุณ (Business Development Execution) ในหลายรูปแบบ เช่น การจัดการโครงการ (Project Management) การประชุมเชิงปฏิบัติการกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy Workshop) และการฝึกอบรมพนักงาน (Training and Cascading Program)
ยินดีต้อนรับสู่ "Supthavee Blog" พื้นที่เผยแพร่และแบ่งปันบทความและเรื่องราวต่างๆ ด้านการจัดการธุรกิจ เทคนิคที่คุณต้องรู้ กลยุทธ์การตลาด และกลยุทธ์การจัดการ ผ่านการเล่าแนวคิดที่ผสมผสานกับกรณีศึกษาเพื่อให้ติดตามและเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น ที่คุณจะสามารถเพลิดเพลินในการติดตามอ่านได้เป็นประจำ
บริษัท ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี จำกัด
Supthavee Advisory Company Limited
บริการให้คําปรึกษาในทุกขั้นตอนของการเติบโตของธุรกิจของคุณ
Comments