top of page
รูปภาพนักเขียนTientip Narach

กลยุทธ์การจัดการแบรนด์ของ Unilever แนวทางกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่า

อัปเดตเมื่อ 2 ก.ย.

Unilever โดดเด่นในฐานะผู้นำของแบรนด์ที่หลากหลายซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์มากมายในแนวการแข่งขันของสินค้าอุปโภคบริโภค ตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2472 ความสามารถของบริษัทในการจัดการทั้ง แบรนด์องค์กร และ แบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย (multi-products) มีประสิทธิภาพยาวนานถึง 95 ปี เพิ่มทั้งความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และกลุ่มตลาดเป้าหมายทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงแนวทางเชิงกลยุทธ์ที่สร้างความแตกต่างในอุตสาหกรรมที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย


ความโดดเด่นในแต่ละระดับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวทุกวันรอบโลกจนเกิดเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Unilever และผลิตภัณฑ์ของ Unilever ที่ผู้คนรับรู้ได้นั้น เกิดจากความสำเร็จในการเชื่อมประสานการจัดการแบบ องคาพยพ ที่มากกว่ากิจกรรมทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ โดยมุ่งเน้นครอบคลุมถึงแนวทางกลยุทธ์ที่ซ้อนทับเหลื่อมมิติอย่างกลมกลืนที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่าที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน (value-driven approach) และทำให้พวกเราหลายคนนึกถึงและจดจำ Unilever ในมุมที่มากกว่าผู้นำด้านสินค้าอุปโภคบริโภค


สิ่งที่ Unilever ดำเนินการอยู่แน่นอนว่ามีเขียนอยู่ในตำรากลยุทธ์การตลาด และแน่นอนว่าธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เพื่อสร้างพื้นที่ในตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของตนเอง แต่ทำไมเราถึงพบว่ายังคงมีความแตกต่างของผลสำเร็จอยู่มากระหว่างผู้แข่งขันในตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภค? อะไรที่อาจมองข้ามไป หรืออะไรที่ขาดไปในรายละเอียดมิติการดำเนินกลยุทธ์ในแต่ละวัน?


เราจะชวนคุณมาสำรวจกลไกที่ Unilever ใช้เพื่อเชื่อมประสานกิจกรรมแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย (multi-brand activities) อย่างง่ายที่คุณสามารถเข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นที่เป้าหมายของ Unilever ในการสร้าง การรับรู้ถึงแบรนด์ (brand awareness) และ กลยุทธ์ในการแข่งขัน กับคู่แข่งสำคัญอย่าง P&G ที่มากกว่าการปะทะกันตรงๆ ด้วยโปรโมชั่นเพียงอย่างเดียวจนอาจเกิดความสูญเสียทั้งสองฝ่ายได้ (lose-lose)

ต้องการอ่านเนื้อหาเพิ่มเติม?

เพื่อเข้าอ่านโพสต์เนื้อหาพิเศษนี้ต่อ โปรดสมัครใช้งาน supthavee.com

bottom of page