top of page
รูปภาพนักเขียนTientip Narach

วันนี้มีผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์ราคาที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลาและสถานการณ์มากน้อยเพียงใด?

อัปเดตเมื่อ 27 ก.ย.

Supply chain model เป็นที่รู้จักกันมากว่า 20 ปี และ Dual-channel supply chain ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ


แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ วันนี้มีผู้ประกอบการที่พิจารณาใช้กลยุทธ์ราคาแบบ dynamic หรือ static ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลาและสถานการณ์มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่อุปสงค์หรือความต้องการในตลาดไม่แน่นอนและอ่อนไหวต่อราคามาก และการบริหารจัดการด้านสต็อกสามารถทำได้เป็นระยะ


กลยุทธ์ราคา
กลยุทธ์ราคาที่ปรับตามจุดกระตุ้นเชิงกลยุทธ์ (Dynamic)


สถานการณ์นี้จะยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้นเมื่อผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเป็นคนละคนกันหรือมีช่องทางการจัดจำหน่ายมากกว่าหนึ่งช่องทาง การตัดสินใจด้านกลยุทธ์ราคาจะใช้จุดกระตุ้น (trigger point) อะไร ถ้าผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายหรือแต่ละช่องทางการจัดจำหน่ายใช้กลยุทธ์ราคาที่ต่างกัน เพื่อให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น หรือคือการเพิ่มผลกำไรทั้งหมดให้สูงสุด (win-win solutions) นั่นเอง


Mengmeng Li และ Shinji Mizuno ได้ทำรายงานการวิจัยในเรื่อง Comparison of dynamic and static pricing strategies in a dual-channel supply chain with inventory control ไว้อย่างน่าสนใจ ระดับสต๊อกพื้นฐานถูกพิจารณาเป็นจุดกระตุ้นการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ราคาที่สำคัญ และแน่นอนว่าในโลกของ Supply Chain องค์ประกอบต่างๆ ล้วนเชื่อมโยงกัน


ในหลายกรณี ระดับสต๊อกพื้นฐานถูกนำมาพิจารณาเป็นจุดกระตุ้นการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ราคาที่สำคัญ มันมีความน่าสนใจอย่างไร?


การปรับราคาแบบ dynamic ที่อ้างอิงระดับสต๊อกพื้นฐานคืออะไร?


  • การปรับราคาแบบ dynamic ที่ปรับอยู่เสมออ้างอิงจากระดับสต๊อกพื้นฐาน คือ หากระดับสต๊อกพื้นฐานมากกว่าที่กำหนดไว้ ก็จะมีการปรับราคาให้เหมาะสมในเวลานั้น รวมถึงการวางแผนการผลิตด้วย โดยยึดระดับสต๊อกพื้นฐานเป็นจุดประตุ้นการตัดสินใจ


การกำหนดระดับสต็อกพื้นฐานทำอย่างไร?


  • การกำหนดระดับสต๊อกพื้นฐาน คือการกำหนดช่วงระดับของสต๊อกต่ำสุดที่ต้องมีเพื่อให้สามารถขายได้ต่อเนื่อง (minimum stocks) และระดับสต๊อกสูงสุดที่จะเก็บไว้รอขาย (maximum stocks)


ทำไมเราจึงต้องกำหนดระดับสต็อกพื้นฐาน?


  • ลองพิจารณาว่าถ้า ณ​ ช่วงเวลาหนึ่ง เรามีสต๊อกน้อยกว่าที่มีคำสั่งซื้อเข้ามามาก และสินค้าของเราเป็นสินค้าที่มีกระบวนการสั่งซื้อวัตถุดิบและการผลิตที่ใช้เวลา ทำให้ลูกค้ารอนานหรือยกเลิกคำสั่งซื้อไปซื้อจากคู่แข่ง นั่นเป็นสิ่งที่คุณต้องการหลีกเลี่ยง

  • ทีนี้ลองพิจารณาว่าถ้า ณ อีกช่วงเวลาหนึ่ง เรามีสต๊อกมากกว่าคำสั่งซื้อ และคาดว่าจะยังไม่มีคำสั่งซื้อจำนวนมากในอนาคตอันใกล้ นั่นแปลว่าเราจะมีรายได้น้อยกว่าต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปแล้วในการซื้อวัตถุดิบและการผลิต ยิ่งคุณมีสต๊อกเหลือมากและนาน คุณก็ยิ่งมีเงินทุนจมในสต๊อกมากนั่นเอง และอาจเป็นสาเหตุให้ขาดสภาพคล่อง ขาดเงินสดในกิจการ รวมทั้ง ความเสียหายที่จะเกิดกับสต็อกหากเป็นสินค้าที่หมดอายุเร็ว


ทำไมคุณจึงควรกำหนดจุดกระตุ้นการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ราคา? คุณทราบไหมว่าอาจมีหลายสิ่งที่คุณและทีมงานของคุณได้ทำอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำมาเชื่อมโยงกันจึงเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า พลังแห่งการวางแผนกลยุทธ์ และที่สำคัญมันง่ายมากที่จะทำสิ่งนี้อย่างเป็นระบบ


นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมจึงควรมีกลยุทธ์ในการกำหนดสิ่งหนึ่งที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chian) ของธุรกิจคุณ เป็นจุดกระตุ้นการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ราคาที่สำคัญ เช่นในกรณีตัวอย่างคือ ระดับสต็อกพื้นฐาน เป็นต้น ยังมีอีกหลายตัวแปรที่คุณสามารถนำมาพิจารณานำมาเป็นจุดกระตุ้นการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ราคาได้ให้เหมาะสมกับธุรกิจคุณ


เชื่อว่าทุกกิจการให้ความสำคัญกับระดับสต๊อกที่มี รวมทั้งระดับเงินสดที่ต้องมีในกิจการเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ทุกวันอย่างราบรื่น แต่พบว่าหลายกิจการแยกทีมงานคนละแผนกในการจัดการเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงอยู่ของธุรกิจ ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการจัดการในภาพรวมของธุรกิจ

เพราะจริงๆ แล้ว ทั้งสองเรื่องนั้นเชื่อมโยงกันอย่างมาก และหากเราประสบความสำเร็จในการกำหนดระดับที่ต้องการพื้นฐานของทั้งสองสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวดนี้แล้ว ลำดับถัดไปคือ นำเอาระดับที่กำหนดนี้มาเป็นจุดกระตุ้นการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ราคา


และถ้าคุณทำเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ มีแผนกลยุทธ์การจัดการ และดำเนินการอย่างจริงจังแล้ว นั่นคือ การสร้างพื้นฐานการจัดการที่ดีที่คุณจะลดความกังวลในแต่ละวัน และมีเวลามากขึ้นในการวางแผนจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อการเติบโตและสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง


เราเชื่อว่านับจากนี้ไปกลยุทธ์ที่เป็น data-driven กำหนดจุดกระตุ้น (trigger point) ในการกำหนดและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จะถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในแทบทุกธุรกิจและอุตสาหกรรมรวมทั้งธุรกิจ SME

ที่ทรัพย์ทวี เรายินดีให้คำปรึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เข้าใจง่าย รวดเร็ว และย่อมเยา


คุณไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ ด้วยตนเอง เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าคือความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้บางส่วนหรือทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงและสร้างประสิทธิผลสูงสุดสำหรับธุรกิจของคุณ


ที่ปรึกษาทรัพย์ทวีจะเป็นผู้ช่วยเพื่อการเติบโตของคุณในการจัดการธุรกิจเชิง กลยุทธ์ราคา ได้อย่างไร?


เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพิจารณาว่าการพูดคุยในเชิงลึกกับเราเป็นสิ่งจำเป็น เราพร้อมและยินดีเสมอในการร่วมคิดร่วมทำกับคุณในรูปแบบการให้บริการที่คุณเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็น


  • การออกแบบเส้นทางความสำเร็จของคุณ หรือ โมเดลธุรกิจ (Business Model)

  • การออกแบบแผนธุรกิจที่ติดตามและวัดผลความสำเร็จได้ (Business Plan)

  • การตรวจสุขภาพธุรกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อระบุสิ่งที่ต้องดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแรงให้พร้อมกับโอกาสและความท้าทายใหม่ (Business Health Check and Action Plans)

  • การร่วมนำแผนงานไปปฏิบัติและติดตามความสำเร็จกับทีมงานของคุณ (Business Development Execution) ในหลายรูปแบบ เช่น การจัดการโครงการ (Project Management) การประชุมเชิงปฏิบัติการกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy Workshop) และการฝึกอบรมพนักงาน (Training and Cascading Program)


ยินดีต้อนรับสู่ "Supthavee Blog" พื้นที่เผยแพร่และแบ่งปันบทความและเรื่องราวต่างๆ ด้านการจัดการธุรกิจ เทคนิคที่คุณต้องรู้ กลยุทธ์การตลาด และกลยุทธ์การจัดการ ผ่านการเล่าแนวคิดที่ผสมผสานกับกรณีศึกษาเพื่อให้ติดตามและเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น ที่คุณจะสามารถเพลิดเพลินในการติดตามอ่านได้เป็นประจำ


บริษัท ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี จำกัด

Supthavee Advisory Company Limited

เราคือ ที่ปรึกษาธุรกิจการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตและสร้างผลกำไรจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน


ติดต่อเราได้ที่

Phone: 080-823-2877

コメント


bottom of page