วันนี้ได้มีโอกาสเยี่ยมชมงานเกษตรแฟร์ประจำปี 2567 จึงได้เข้าใจว่าทำไมงานเกษตรแฟร์จึงสามารถจัดมายาวนานและผู้คนมากมายขนาดนี้ เลยนำมาชวนคุยกันวันนี้เชิงกลยุทธ์ว่า เกษตรศาสตร์ในขณะนั้นต้องการอะไร และมีสูตรสำเร็จการจัดงานอย่างไรจึงประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น โดยใช้ Steve Blank formula มาพิจารณา มาดูกันค่ะว่าสูตรสำเร็จในวันนั้นคืออะไร ต้องบอกว่ามันเยี่ยมมากเลย!
ความเป็นมาของงานเกษตรแฟร์
จากข้อมูลของ website ศิลปวัฒนธรรม ระบุว่า “เกษตรแฟร์” ครั้งแรก ปี 2491 มากันตั้งแต่ตี 3!!! จัดงานขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3-4 มกราคม พ.ศ. 2491 ในชื่อ “ตลาดนัดเกษตรกลางบางเขน” เน้นจัดแสดงผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ของนิสิต เช่น การปลูกพืชพันธุ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ฯลฯ
เกษตรแฟร์ครั้งแรกได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการมาดูองค์ความรู้ด้านการเกษตรใหม่ ๆ เพื่อเอาไปใช้พัฒนาผลผลิตของตนเอง ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ห่างไกลจากชุมชนเมืองอย่างมากและยังเดินทางลำบาก แต่ผู้คนก็ยังมากัน”
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์โดยใช้ Steve Blank formula
ถ้าเรามองจากเชิงกลยุทธ์จะพบว่า งานเกษตรแฟร์ในช่วงแรกมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจนมากคือ เกษตรกรทั่วประเทศ คำถามถัดไปคือ แล้วทำไมเกษตรกรจึงจะยินดีเดินทางไกลมาร่วมงาน? เกษตรกรจะได้ประโยชน์อะไร? ในครั้งนั้นนอกจากองค์ความรู้ด้านการเกษตรใหม่ๆ แล้ว นิสิตยังมีการจัดแสดงสินค้าและให้ชมแปลงเกษตรหลายสิบไร่ที่เปิดให้เกษตรกรหยิบไปได้
ทีนี้เราลองนำ Steve Blank formula มาพิจารณาว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้นต้องการอะไร ทำอะไร และทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น
Steve Blank เป็นอดีตพนักงาน Google ที่บริหารจัดการ the Lean Startup Circle และสังเกตเห็นว่า Startup founders มักจะเน้นคุณสมบัติ (features) มากกว่าประโยชน์ (benefits) ในการสร้างคุณค่าที่นำเสนอ (value proposition) เพื่อเปลี่ยนมุมมองดังกล่าวให้กลับมาเน้นที่ประโยชน์ จึงเป็นที่มาของ Steve Blank formula ที่เข้าใจง่ายเพียงประโยคเดียว คือ
“We help ( X ) do ( Y ) by doing ( Z ).”
กลับมาที่งานเกษตรแฟร์ หรือ “ตลาดนัดเกษตรกลางบางเขน” ซึ่งเป็นชื่องานในช่วงแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องการ "ให้คนภายนอกมหาวิทยาลัยได้รู้จักกิจการทั้งหลายของมหาวิทยาลัย และเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักของคนภายนอกไปด้วยในตัว”
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึง จัดงานเกษตรแฟร์ โดยเชิญชวนเกษตรกรทั่วประเทศมาร่วมงาน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกแบบงานในรูปแบบที่ ช่วยให้เกษตรกรทั่วประเทศที่มาร่วมงาน 1. ได้รับองค์ความรู้ด้านการเกษตรใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการพัฒนาผลผลิตของตนเอง และ 2. ได้รับแจกพืชพันธุ์ โดยเฉพาะมะเขือเทศ ซึ่งเป็นที่ต้องการในตลาดขณะนั้น ดังคำพูดของ ศ. จรัด สุนทรสิงห์ อาจารย์และคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในขณะนั้น บันทึกไว้ว่า “….ประชาชนหลั่งไหลกันมาชมมากมาย มากันตั้งแต่ตีสามตีสี่ ผักหญ้าโดยเฉพาะมะเขือเทศ ทั้งของนิสิตและของคณะเกษตรศาสตร์ที่ปลูกไว้หลายสิบแปลง อันตรธานหายวับไปกับตาไม่ถึงครึ่งวัน เราก็ไม่ว่าอะไร ปล่อยให้เขาได้สนุกกันเต็มที่….”
ดังนั้น Steve Blank formula กรณีศึกษางานเกษตรแฟร์ จะได้หนึ่งประโยค คือ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วย เกษตรกรทั่วประเทศ พัฒนาผลผลิตของตนเอง โดย การจัดงาน “ตลาดนัดเกษตรกลางบางเขน” ที่ให้องค์ความรู้ด้านเกษตรใหม่ๆ และแจกพันธุ์พืชที่เป็นที่ต้องการในตลาด
บทสรุปและข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ SME
สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่กำลังค้นหาเป้าหมาย เส้นทาง และวิธีการเดินทางเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น อยากแนะนำให้ลองพิจารณา Steve Blank formula เพราะความเรียบง่าย (simple) มักจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความชัดเจน (clarity) สำหรับตัวผู้ประกอบการเองในการริเริ่มหรือเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงในเชิงกลยุทธ์ เพราะเมื่อเรามีความชัดเจนแล้ว การวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ในรายละเอียดเพื่อนำไปสู่แผนพัฒนาธุรกิจที่มุ่งเน้นผลลัพธ์และวัดผลได้จะมีประสิทธิผลอย่างยิ่ง และจะสร้างผลลัพธ์อันน่าทึ่งทางธุรกิจ
และแน่นอนว่าเมื่อกาลเวลาผ่านไป Steve Blank formula ก็จำเป็นต้องนำมาพิจารณาและขีดเขียนใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป งานเกษตรแฟร์ก็เช่นกันที่วันนี้กลุ่มเป้าหมายก็ไม่ใช่เกษตรกรทั่วประเทศแล้ว และสิ่งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำก็เปลี่ยนแปลงไป และประโยชน์ที่งานเกษตรแฟร์ให้กับผู้มาร่วมงานก็แตกต่างไปจากเมื่อปี 2491 ลองคิดกันดูแล้วจะแวะมาเฉลย ติดตามใน comment ภายหลังได้นะคะ
ที่ปรึกษาทรัพย์ทวีจะเป็นผู้ช่วยเพื่อการเติบโตของคุณในการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์อย่าง เกษตรแฟร์ สูตรสำเร็จการจัดงาน ได้อย่างไร?
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพิจารณาว่าการพูดคุยในเชิงลึกกับเราเป็นสิ่งจำเป็น เราพร้อมและยินดีเสมอในการร่วมคิดร่วมทำกับคุณในรูปแบบการให้บริการที่คุณเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็น
การออกแบบเส้นทางความสำเร็จของคุณ หรือ โมเดลธุรกิจ (Business Model)
การออกแบบแผนธุรกิจที่ติดตามและวัดผลความสำเร็จได้ (Business Plan)
การตรวจสุขภาพธุรกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อระบุสิ่งที่ต้องดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแรงให้พร้อมกับโอกาสและความท้าทายใหม่ (Business Health Check and Action Plans)
การร่วมนำแผนงานไปปฏิบัติและติดตามความสำเร็จกับทีมงานของคุณ (Business Development Execution) ในหลายรูปแบบ เช่น การจัดการโครงการ (Project Management) การประชุมเชิงปฏิบัติการกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy Workshop) และการฝึกอบรมพนักงาน (Training and Cascading Program)
ยินดีต้อนรับสู่ "Supthavee Blog" พื้นที่เผยแพร่และแบ่งปันบทความและเรื่องราวต่างๆ ด้านการจัดการธุรกิจ เทคนิคที่คุณต้องรู้ กลยุทธ์การตลาด และกลยุทธ์การจัดการ ผ่านการเล่าแนวคิดที่ผสมผสานกับกรณีศึกษาเพื่อให้ติดตามและเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น ที่คุณจะสามารถเพลิดเพลินในการติดตามอ่านได้เป็นประจำ
บริษัท ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี จำกัด
Supthavee Advisory Company Limited
เราคือ ที่ปรึกษาธุรกิจการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตและสร้างผลกำไรจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน
ติดต่อเราได้ที่
Phone: 080-823-2877
Comments