เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับเส้นทางสู่ความสำเร็จในกลยุทธ์แบรนด์ถ้ามีข้อจำกัดของทรัพยากร คือ เงินทุน ทีมงานและเวลา ระหว่าง การลงทุนในแบรนด์ผลิตภัณฑ์ซิกเนเจอร์หนึ่งแบรนด์ (one signature product brand) หรือแบรนด์ผลิตภัณฑ์เรือธง (flagship brand) เพียงแบรนด์เดียว กับ การดูแลแบรนด์องค์กรที่แข็งแกร่ง (strong corporate brand) กับการตัดสินใจครั้งสำคัญทางธุรกิจที่ต้องเลือกน้ำหนักกลยุทธ์ให้เกิดผลลัพธ์ภายใต้ข้อจำกัด
สำหรับธุรกิจที่ยังไม่ได้มีแบรนด์องค์กรหรือผลิตภัณฑ์ที่แข็งแรงมากนัก การตั้งคำถามในเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ อย่างน้อยเพื่อประเมินน้ำหนักความสำคัญในระยะสั้นและระยะยาวที่อาจจะให้น้ำหนักที่แตกต่างกันเพื่อจัดสรรตามความพร้อมของทรัพยากรที่มีและสภาวะทางการตลาดที่เอื้ออำนวย
หากเราพิจารณาบริษัทที่ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำในตลาดโลกเพื่อหาตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากความทุ่มเทลงทุนในแบรนด์ผลิตภัณฑ์ซิกเนเจอร์หนึ่งแบรนด์ จริงหรือไม่ที่บริษัทจะสามารถประสบความสําเร็จอย่างแท้จริงด้วยแบรนด์ผลิตภัณฑ์เรือธง (flagship brand) เพียงแบรนด์เดียวและไม่มีเอกลักษณ์องค์กร (corporate identity) ที่โดดเด่น?
เราจะชวนคุณมาสำรวจ 3 ตัวอย่างของบริษัทระดับโลกที่ก้าวสู่ฐานที่มั่นผู้นำในตลาดโลกด้วยกลยุทธ์ความทุ่มเทลงทุนในแบรนด์ผลิตภัณฑ์เรือธง เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ว่าทั้ง 3 บริษัทชั้นนำนี้จะเริ่มต้นด้วยความทุ่มเทการพัฒนาและการตลาดผลิตภัณฑ์เรือธง แต่บริษัทเหล่านี้ล้วนก้าวขึ้นมามีแบรนด์องค์กรที่แข็งแกร่งด้วยผลิตภัณฑ์เรือธงได้รับความสำเร็จอย่างท่วมท้นในวงกว้าง
การสร้างการรับรู้แบรนด์และเอกลักษณ์องค์กรด้วยเรื่องราวของเส้นทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่น่าทึ่ง ดูเป็นธรรมชาติและสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งอย่างมาก และ Apple ก็คือหนึ่งในตัวอย่างนี้กับความสำเร็จอย่างท่วมท้นของผลิตภัณฑ์เปลี่ยนโลกที่ชื่อว่า iPhone รวมทั้ง Tesla และ Yeti
ถ้าคุณพร้อมแล้ว มาเริ่มการสำรวจไปด้วยกันกับ แบรนด์ Signature Product สามารถประสบความสําเร็จโดยไม่มีเอกลักษณ์องค์กรที่โดดเด่นได้หรือไม่? มาเจาะลึกข้อดีข้อเสียของกลยุทธ์ที่น่าสนใจนี้